ทำความรู้จักกับชิมช้อปใช้ทั้งชิมช้อปใช้เฟส 1 จนถึงเฟส 4 และวิธีสมัครชิมช้อปใช้ 3,000 ล่าสุดวันนี้!

สารบัญ
“ชิมช้อปใช้” มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เรียกได้ว่าเป็นกระแสที่มาแรงในโลกโซเชียลในช่วงหนึ่งเลยทีเดียว สำหรับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทางรัฐบาล อย่าง “ชิมช้อปใช้” ที่ได้รับความสนใจ และเสียงตอบรับจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางรัฐบาลนั้นได้ทุ่มงบประมาณถึง 2 หมื่นล้านบาท เพื่อทำการแจกจ่ายเงินให้กับประชาชนคนไทย 10 ล้านคน แบบฟรี ๆ คนละ 1,000 บาท ด้วยความหวังที่ว่ามาตรการส่งเสริมการบริโภค และการท่องเที่ยวในครั้งนี้ จะช่วยบรรเทา และแก้ไขปัญหาสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังชะลอตัวอยู่นี้ให้กลับมาดีขึ้นได้ เพื่อเป็นสนับสนุนให้เกิดการใช้จ่ายในการบริโภค และการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากยิ่งขึ้น และเป็นการกระจายรายได้สู่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นต่าง ๆอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันปี 2566 โครงการชิมช้อปใช้ล่าสุดได้ดำเนินโครงการมาจนถึงชิมช้อปใช้เฟส 4 แล้ว
ชิมช้อปใช้ รับเงินฟรี 1,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในการท่องเที่ยว
ถ้าหากว่าเราลองสังเกตดูให้ดี ๆ เราจะเห็นว่าทางรัฐบาลนั้นได้มีกรออกนโยบายต่าง ๆ มากมาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ไม่ว่าจะนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกกันว่าบัตรคนจน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย มาตรการช้อปดีมีคืน กระตุ้นการใช้จ่าย และมาตรการสินเชื่อ 0% เพื่อเกษตรกร ซึ่งล่าสุดได้มีการปล่อยนโยบายชิมช้อปใช้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดใช้จ่ายในการบริโภค และการท่องเที่ยวมากขึ้น
โครงการชิมช้อปใช้ คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการบริโภคของประชาชน และส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งรัฐบาลจะทำการแจกเงินให้กับผู้ที่ได้ลงทะเบียนชิมช้อปใช้ผ่านทาง g-Wallet ของแอปพลิเคชันเป๋าตัง โดยจะมีด้วยกัน 2 ส่วน คือ กระเป๋าตังแรกจะได้รับเงินจำนวน 1,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในจังหวัดที่ลงทะเบียนไว้ และกระเป๋าตังที่ 2 ด้วยการเติมเงินใส่ g-Wallet เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าในจำนวนเงินที่ไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งจะได้รับเงินคืน 15% ของค่าใช้จ่ายไม่ หรือ 4,500 บาท ในการใช้จ่ายทุกจังหวัดยกเว้นจังหวัดที่ตัวเองอยู่นั่นเอง
ปลดล็อกชิมช้อปใช้ในเฟสที่ 3 สามารถใช้จ่ายได้ทุกจังหวัด
หลังจากที่ได้มีการเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการชิมช้อปใช้เฟส 1 ในช่วงเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมานั้น ได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม มีผู้ลงทะเบียนรับสิทธิ์เต็มจำนวน จึงทำให้มีการเปิดให้ลงทะเบียนโครงการชิมช้อปใช้เฟส 2 ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2562 เพื่อเพิ่มสิทธิ์ให้กับผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการ แต่ในการลงทะเบียนชิมช้อปใช้ทั้งสองเฟสนี้ กลับพบปัญหาที่เหมือนกัน คือ เมื่อถึงเวลาใช้สิทธิ์คนส่วนใหญ่จะใช้แต่เงินในเป๋าตัง 1 ไม่ใช้เป๋าตัง 2 หรืออธิบายง่าย ๆ เลยก็คือใช้แต่เงินที่แจกฟรี 1,000 บาทนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ มาตรการชิมช้อปใช้เฟส 3 จึงได้เปลี่ยนให้สิทธิ์ได้แค่เป๋าตัง 2 ซึ่งจะต้องทำการเติมเพื่อใช้ในการเงินซื้อสินค้าต่าง ๆ แทน โดยได้ทำการขยายเวลาของมาตรการออกไปจนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2563 และปลดล็อกให้สามารถใช้จ่ายได้ทุกจังหวัด ซึ่งเงื่อนไขในการลงทะเบียนชิมช้อปใช้ มีดังนี้
- เป็นบุคคลสัญชาติไทย
- มีบัตรประจำตัวประชาชน
- อายุ 18 ปี ขึ้นไป
- มี E-Mail เป็นของตัวเอง
- มีโทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
ชิมช้อปใช้คนละครึ่ง ส่งเสริมการใช้จ่ายที่รัฐช่วยออกให้ 50%
ทางรัฐบาลได้มีการออกมาตรการใหม่กระตุ้นเศรษฐกิจภายในชื่อ “โครงการคนละครึ่ง” หรือโครงการชิมช้อปใช้ เฟสใหม่ ที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่าชิมช้อปใช้คนละครึ่งนั่นเอง ซึ่งเป็นการใช้จ่ายแบบครึ่งต่อครึ่ง ที่รัฐบาลจะช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ 50% ของเงินที่ใช้ซื้อสินค้า โดยรัฐบาลจะทำการแจกเงินให้กับผู้ที่ลงทะเบียนคนละ 3,000 บาท ผ่านทางแอปพลิเคชันเป๋าตัง ของธนาคารกรุงไทย
สำหรับโครงการชิมช้อปใช้คนละครึ่งนี้ เป็นการใช้จ่ายแบบที่ผู้ใช้ออกครึ่งหนึ่ง และรัฐบาลออกให้อีกครึ่งหนึ่ง ในวงเงินการใช้จ่ายไม่เกิน 150 บาทต่อวัน ซึ่งได้เปิดให้ลงทะเบียนสมัครชิมช้อปใช้ 3,000 บาท ไปเมื่อเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา เรียกได้ว่าได้รับเสียงตอบรับจากผู้คนอย่างล้นหลามเลยทีเดียว โดยล่าสุดในปี 2566 นี้ ได้ต่ออายุโครงเป็นคนละครึ่ง เฟส 2 ซึ่งมีการเพิ่มวงเงินในการใช้จ่าย จากเดิม 3,000 บาท เพิ่มเป็นเป็น 3,500 บาท และสามารถใช้จ่ายซื้อสินค้ากับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566
หลาย ๆ คนมักจะมีความสับสนระหว่างโครงการชิมช้อปใช้ กับโครงการช้อปดีมีคืน จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าชิมช้อปใช้ลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วชิมช้อปใช้ ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้ โครงการที่สามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ คือ ช้อปดีมีคืน เพราะโครงการนี้เป็นมาตรการลดหย่อนภาษีที่ทางรัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ เข้าสู่ระบบในการการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง